วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

สรุปวิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วย  
        ขนมอบ

ปริญญานิพนธ์
ของ
พิจิตรา เกษประดิษฐ์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2552

บทนำ
     
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุด สำหรับพัฒนาการของมนุษย์ สิ่งที่เด็กได้รับประสบการณ์
และการเรียนรู้ในช่วง 5 ปีแรก ของชีวิตจะมีผลต่อการวางรากฐานที่สำคัญต่อบุคลิกภาพของเด็กที่จะ
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กควรที่จะได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ทั้งทางด้านการอบรมเลี้ยงดู การเอาใจใส่ความรักและความอบอุ่น
    ในชีวิตประจำวันของเด็กวัยก่อนประถมศึกษาจะต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อยู่ตลอดเวลา
นับตั้งแต่ตื่นนอนในตอนเช้า เด็กรู้จักคำว่า เช้าซึ่งเป็นคำบอกช่วงเวลา เมื่อจะแปรงฟันเด็กต้องใช้
การสังเกต เพื่อจำแนกให้ได้ว่า แปรงสีฟันอันไหนเป็นของตน เด็กต้องสังเกตและจดจำตำแหน่งของ
สิ่งของที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. 2532: 616) การฝึกให้เด็กเกิดทักษะ
พื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพราะหลักการทางคณิตศาสตร์ จะทำให้เด็กรู้จักคิดเป็น ทำเป็น
แก้ปัญญาเป็น รู้จักการค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
และยังเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในระดับต่อไป



ความมุ่งหมายของการวิจัย
     เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ


ความสำคัญของการวิจัย
     ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สำหรับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ
เด็กปฐมวัย ในการนำกิจกรรมศิลปะ


ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลังศึกษา
อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร จำนวน 81 คน
กลุ่มตัวอย่าง
     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 20 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
     ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การดำเนินการทดลอง
5. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


การเก็บรวบรวมข้อมูล
      การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินการ
ทดลองตามแบบแผนการวิจัย One-Group Pretest Posttest Design (ล้วน สายยศ ; และ อังคณา
สายยศ. 2538: 249) ดังตาราง 2


สรุปผลการวิจัย
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูง
กว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01



วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่16


บันทึกครั้งที่ 16
พฤหัสบดี ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556
  

 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปที่ลานแดง เพื่อไปฟังเรื่องการส่งเสริมการใช่ขวดน้ำประจำตัวและร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆ



 



-วันนี้อาจารย์ให้นักษากลุ่มที่เหลือออกมาสาธิตการสอน
กลุ่มแรกเรื่องของผม วันจันทร์ลักษณะของผม
วันอังคารหน้าที่ของผม
วันพุธประโยชน์และของควรระวัง
วันพฤหัสบดีวิธีดูแลรักษา
วันศุกร์อาชีพ
-กลุ่มที่สอง เรื่องสัตว์ทะเล

-อาจารย์ให้ดูตารางนำเสนอข้อมูล













บันทึกครั้งที่ 15


บันทึกครั้งที่ 15


พฤหัสบดี ที่ 7 กุมภาพันธ์
   การเรียนการสอน- อาจารย์ให้เพื่อนสาธิตการสอน ... หน่วย ต้นไม้ ...

วันจันทร์  (เรื่อง ประเภท)
   -   อาจารย์ยกตัวอย่างจากสัปดาห์ที่แล้ว
   - ใช้คำถามเชิญชวน
   - แยกประเภทของต้นไม้

วันอังคาร (เรื่อง ลักษณะของต้นไม้)
   -  ถามความรู้ที่ได้จากเมื่อวาน
   - นำต้นไม้มาให้เด็กสังเกต
   - ส่งต้นไม้ให้เด็กๆดู
   -  ดูความแตกต่าง ของ ราก พื้นผิว สี เป็นต้น เขียนเป็นตาราง
   - นำเสนอเป็นวงกลม "ยูเนี่ยน"

วันพุธ (เรื่อง ส่วนประกอบ)
   - ใช้คำถาม
   - นำรูปภาพมาให้เด็กดู
 วันพฤหัส (เรื่อง ประโยชน์)   - ใช้นิทานในการสอน

วันศุกร์ (เรื่อง โทษของต้นไม้) 
- ให้รูปภาพที่ได้รับอันตรายจ่กต้นไม้มาให้เด็กดู
  - สามารถใช้นิทานได้



 


 

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 14


บันทึกครั้งที่ 14 

พฤหัสบดี ที่ 31 มกราคม 2556


   
วันนี้กลุ่มของเพื่อนออกมาสาธิตการสอน 

        เรื่อง ดิน


วันจันทร์---ชนิดของดิน 

-เราถามด็กว่าเด็ๆรู้จักดินแบบไหนบ้างคะ เพื่อทอดสอบประสบการเดิม เป็นการแบ่งปันความรู้ มีส่วนร่วม คิดถึงเหตุการณ์ 
-เขียนลงบนกระดานตามที่เด็กบอก(เขียนให้อยู่ในเลขฐานสิบ)
-เขียนตัวเลขกำกับเพื่อให้เด็กนับ แล้วถามเด็กว่าดินมีทั้งหมดกี่ชนิด
เช่น
1ดินน้ำมัน
2ดินเหนียว
3ดินปืน
4ดินสอสี
5ดินทราย
6ดินร่วน
7ดินสอ
8ดินสอพอก
9ดินแดง
10ดินแดน

-หลังจากนั้นนำดินที่เราเตรียมมาใส่ตะกร้าหรือกล่งเพื่อที่จะให้เด็กลองคาดคะเน เด็กๆคะเด็กๆคิดว่าในตะกร้านี้มีอะไรคะ 
-นำดินที่เราเตรียมว่าให้เด็กลองจับ สังเกต ถามเด็กว่าดินที่ครูเตรียมมามีกี่ชนิด ลักษณะของดินเป็นแบบไหน
-แล้วก็นแยกประเภท นำมาเที่ยบ1-1

วันอังคาร---ลักษณะของดิน

-นำดินที่เตรียมมาให้เด็กสัมผัส แล้วให้เด็กสังเกตความแตกต่าง สีของดิน ขนานของดิน รูปร่าง
-พอเด็กตอบนำมาเขียนเป็นตาราง
-นำเสนอเป็นแผนภูมิวงกลม
 แผนภูมิวงกลม

 







วันพุธ--สิ่งที่อยู่ในดิน

-พาเด็กออกไปข้างนอกหรือคณุเตรียมดินใส่ถุงแล้วนำ หอย ก้อนหิน ใส้เดื่อน เปลือกไม้ หนอน เป็นต้น

วันพฤหัสบดี--ประโยชน์ของดิน


-บอกถึงประโยชน์ของดิน 
-เล่านิทาน ให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ หรือใช้เพลงก็ได้
วันศุกร์--ข้อควรระวัง

-บอกให้เด็กเข้าใจว่าในดินนั้นมีอะไรบ้าง
-อาจใช้หุ่นมือมาเลาานิทาน

*-* ในวันสุดท้ายควรให้เด็กได้ลองมือปฏิบัติจริง ได้ลงมือสัมผัส ให้เด็กทำกิจกรรมเตรียมดินปลูกต้นไม้






บันทึกครั้งที่ 13


บันทึกครั้งที่ 13

พฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม 2556

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้

หน่วยสาระที่จะสร้างขึ้นให้แยกออกเป็น 5 วันวันจันทร์-วันศุกร็์
ให้บูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปด้วย
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

อธิบายหัวข้อคุณหมอ
....เด็กๆรู้จักหมออะไรบ้างคะ
....รู้จักหมออยู่2ประเภทคือใกล้ตัวเด็กและเด็กรู้จัก
....เด็กอยากทราบไหมค่ะว่าหมอมีข้อแต่ต่างกันอย่างไร
....เด็กๆนับหมอฟันสิว่ามีกี่คน คุณหมอมีทั้งหมอเท่าไร

หลักในการเลือกหน่วยการเรียนรู้ให้กับเด็ก สิ่งที่ควรคำนึง

1ใกล้ตัวเด็ก
2มีผลกระทบกับเด็ก
3ในชีวิตประจำวัน

*-* เด็กเกิดประสบการณ์---ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5---ลงมือกระทำ---เป็นวิธีการเรียนรู้
*-* สิ่งที่เหมาะในการบอกประโชยน์คือ หยิบออกมาให้เห็น
*-* ช่วงความสนใจของเด็ก 20-25 นาที
*-* จังหวะที่เหมาะกับนิทาน
*-* การชั่งน้ำหนักด้วกิโล
                                                           
     

 ตัวอย่างการวัดระยะทาง



บันทึกครั้งที่ 12


บันทึกครั้งที่ 12

วัน พฤหัสบดี ที่ 17 มกราคม 2556

   ***มาตรฐานการเรียนรู้ของ สสวท.มี



1 จำนวนและการดำเนินการ
2 การวัด
3 เรขาคณิต
4 พีชคณิต
5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

1 สติปัญญา
1.1 การคิด-สร้างสรรค์-ใช้เเหตุผล
1.2 ภาษา

* เรียนรู้เรื่องจำนวน-การแทนค่า-รู้ค่า
* การวัด-เครื่องมือ-ได้ค่าและปริมาณ
* คำว่า ตรงกลาง คือสองข้างเท่ากัน
* คำว่า ระหว่าง คือต้องมีการผ่าน
* พีชคณิต-เข้าใจแบบรูป
*เรขาคณิต-รูปทรง ทิศทาง ตำแหน่ง ระยะทาง

                
                      



   *-*การเลือกหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย*-*





1 เรื่องใกล้ตัวเด็ก
2 มีประโยชน์กับเด็ก
3 เด็กรู้จัก
4 มีผลกระทบต่อเด็ก
5 มีความสำคัญกับเด็ก
6 เป็นเรื่องง่ายๆเด็กทำได้
7 เหมาะสมกับเด็ก

บันทึกครั้งที่ 11


บันทึกครั้งที่่ 11


วันพฤหัสบดี ที่ 10 มกราคม 2556

                วันนี้เราเข้าเรียนได้ตรงเวลาเป๊ะเลยค่ะ ไม่มีโดนเช็คขาดหรือว่าเช็คสาย นอกจากนี้ก็ได้เตีรยมตัวมาเรียน แบบมีความพร้อม คือเตรียมงานที่ครูมอบหมายให้มาส่งทุกชิ้น  แต่ว่าอีกชิ้นยังไม่เสร็จเลย ก็เลยเตรียมอุปกรณ์มาทำในห้อง ซึ่งใช้เวลาแป๊บเดียว เพราะทำไม่ยากเท่าไรค่ะ

                 โดยเนื้อหาสาระที่เริ่มเรียนในวันนี้ก็มีการทบทวนการทำแผนผังความคิดหรือที่เราๆมักเรียกกันว่า Mind Mapping นั่นเอง ว่าผังความคิดนั้นสามารถทำให้เราได้ทราบถึงสาระสำคัญของเรื่องนั้นๆ แล้วยังสามารถแตกออกไปเป็นประเด็นย่อยๆ ได้ อีกหลายประเด็น ซึ่งในขณะที่ทำผังความคิดนั้นเราก็ได้ใช้ความคิด วิเคราะห์ไปด้วย และครูยังสามารถสอนให้เด็กๆคิดวิเคราะห์ได้เช่นกัน  แล้วยังได้ทราบถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยว่า มีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไปอย่างไรบ้าง

                  จากนั้นคุณครูก็ได้นำแผนผังความคิดที่้นักศึกษาทำมาส่ง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น เรื่องต้นไม้   ครอบครัว   หมอ  น้ำ ผม เป็นต้น ซึ่งครูก็ได้อภิปรายร่วมกับนักศึกษา และได้แนะนำในส่วนที่ไม่สมบูรณ์ของแผนผังความคิดว่าต้องเพิ่มเติมเนื้อหาอะไรเข้าไปอีก แล้วครูก็ได้สอนเกี่ยวกับมาตรฐานของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรืออักษรย่อว่า  สสวท. ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตรฐาน ดังนี้

                   มาตรฐานแรก จำนวนและการดำเนินการ
                   มาตรฐานที่สอง การวัด
                   มาตรฐานที่สาม เรขาคณิต
                   มาตรฐานที่สี่ พีชคณิต
                   มาตรฐานที่ห้า การวิเคราะห์ข้อมูลหรือความน่าจะเป็น
                   มาตรฐานที่หก ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                   และท้ายชั่วโมงเรียนคุณครูก็มอบหมายงานเกี่ยวกับการนำมาตรฐานทั้ง 6 ของ สสวท. มาประยุกต์ใช้กับสาระสำคัญในการนำไปสอนเด็กๆ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ พร้อมเน้นย้ำว่า ในการสอนเด็กนั้นต้องให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับของจริงเสียก่อน จากนั้นค่อยสอนเกี่ยวกับภาพและการใช้สัญลักษณ์


ภาพวันนี้