วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

สรุปวิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วย  
        ขนมอบ

ปริญญานิพนธ์
ของ
พิจิตรา เกษประดิษฐ์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
พฤษภาคม 2552

บทนำ
     
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุด สำหรับพัฒนาการของมนุษย์ สิ่งที่เด็กได้รับประสบการณ์
และการเรียนรู้ในช่วง 5 ปีแรก ของชีวิตจะมีผลต่อการวางรากฐานที่สำคัญต่อบุคลิกภาพของเด็กที่จะ
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กควรที่จะได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ทั้งทางด้านการอบรมเลี้ยงดู การเอาใจใส่ความรักและความอบอุ่น
    ในชีวิตประจำวันของเด็กวัยก่อนประถมศึกษาจะต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อยู่ตลอดเวลา
นับตั้งแต่ตื่นนอนในตอนเช้า เด็กรู้จักคำว่า เช้าซึ่งเป็นคำบอกช่วงเวลา เมื่อจะแปรงฟันเด็กต้องใช้
การสังเกต เพื่อจำแนกให้ได้ว่า แปรงสีฟันอันไหนเป็นของตน เด็กต้องสังเกตและจดจำตำแหน่งของ
สิ่งของที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. 2532: 616) การฝึกให้เด็กเกิดทักษะ
พื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพราะหลักการทางคณิตศาสตร์ จะทำให้เด็กรู้จักคิดเป็น ทำเป็น
แก้ปัญญาเป็น รู้จักการค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
และยังเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในระดับต่อไป



ความมุ่งหมายของการวิจัย
     เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ


ความสำคัญของการวิจัย
     ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สำหรับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ
เด็กปฐมวัย ในการนำกิจกรรมศิลปะ


ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลังศึกษา
อยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร จำนวน 81 คน
กลุ่มตัวอย่าง
     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลัง
ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 20 คน
ตัวแปรที่ศึกษา
     ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การดำเนินการทดลอง
5. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


การเก็บรวบรวมข้อมูล
      การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินการ
ทดลองตามแบบแผนการวิจัย One-Group Pretest Posttest Design (ล้วน สายยศ ; และ อังคณา
สายยศ. 2538: 249) ดังตาราง 2


สรุปผลการวิจัย
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูง
กว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น